Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กลุ่ม พค 32 ปีการศึกษา 2562   ข้อมูลความรู้

  รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า "รถบิ๊กไบค์" ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่บรรดาค่ายรถมอเตอร์ไซค์เริ่มนำเข้า-ผลิตจำหน่ายในประเทศไทย ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี จนเรียกว่ามีรุ่นให้เลือกเยอะแยะมากมาย ราคาเริ่มเพียงแสนต้นๆ และมีแคมเปญสุดพิเศษอีกเพียบ 
ก่อนอื่นคำว่ารถ "บิ๊กไบค์" นั้นหากจะกล่าวถึงในระดับสากลรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้เรียกนี้จะต้องมีขนาดความจุหรือปริมาตรกระบอกสูบ 400 ซีซี ขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะใช้กี่ลูกสูบ ตัวถังใหญ่หรือเล็ก ส่วนรถที่มีความจุเครื่องยนต์ต่ำกว่านั้นไม่นับเป็น "บิ๊กไบค์" แม้จะมีเครื่องยนต์ 2, 3 หรือ 4 สูบ หรือว่าขนาดตัวรถจะใหญ่แค่ไหน อย่างไรก็ตามมีเพียงในประเทศไทยเท่านั้นที่เรียกรถมอเตอร์ไซค์คันที่ดูใหญ่กว่ารถออโตเมติกว่า "บิ๊กไบค์" ในทันที ซึ่งทำให้การพาดหัวในข่าวต่างๆ ดูน่าตื่นเต้นหรือหวืดหวาและก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครผิด สุดแล้วแต่ใครจะเรียกอย่างไรหากมาวิเคราะห์ดูก็จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นประกอบกันอีกมากมาย
1.ผู้ขับขี่ไม่พร้อม กรณีการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ตั้งแต่รถขนาด 50 ซีซีขึ้นไป ย่อมต้องมีความรู้ ทักษะการควบคุมรถ การทรงตัว การตัดสินใจและความรอบคอบสูงมากทั้งสิ้น หรือไม่ถูกฝึกอบรมก่อนการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ นับเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้รถมอเตอร์ไซค์อันดับต้นๆ 
2.ความเคยชิน แม้จะมีทักษะที่ดีแล้วก็ตาม การขับด้วยความเคยชินอาจนำไปสู่ความประมาท เลินเล้อ หรือลดความระมัดระวังน้อยลงนั่นเอง รวมถึงไม่สวมหมวกกันน็อคเพียงแค่ "ไปใกล้ๆ แค่นี้ไม่ต้องใส่หรอก" หรือ "ใส่เฉพาะมีด่านตรวจ"
3.ความคึกคะนอง ข้อนี้รู้กันดีว่าเกิดจากความต้องการแสดงออกเพื่อตอบสนองตนเอง เช่น การยกขี่ล้อโชว์ การขี่ด้วยความเร็วสูงๆ ในสภาพถนนที่ไม่สมควรหรือรองรับ การเข้าทางโค้งด้วยความเร็วกำหนด และสุดท้ายคือ การขับแข่งขันบนถนนหลวง สิ่งเหล่านี้มักมีผลลัพธ์ออกมาคล้ายกันคือ อาจทำให้ตนเองและผู้อื่น บาดเจ็บ เสียหายหรืออาจเสียชีวิตเลยก็ได้
4.ไม่เรียนรู้เพิ่มเติม เมื่อต้องการ "ขยับ" หรือ "อัพซีซี" ของรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นไป หลังจากกำลังเครื่องยนต์คันเดิม "ชินมือ" ไปแล้ว แต่ลืมไปว่าจำเป็นต้องเรียนรู้ อบรม และฝึกฝนทักษะเพิ่มตามขึ้นไปด้วย ก่อนการใช้งานจริง เพราะความแรง น้ำหนัก การควบคุมที่ต้องใช้ความสามารถเพิ่มขึ้นตามสมรรถนะของรถ หากขาดการฝึกฝนที่ดีพอก็อาจทำให้การควบคุมรถได้ไม่ดีเช่นกัน    
5.ซื้อง่าย-ขายคล่อง ปัจจุบันการเลือกรถมอเตอร์ไซค์ตั้งแต่รถเล็กไปถึงรถใหญ่หรือว่าบิ๊กไบค์ สามารถซื้อกันได้ง่ายขึ้น ดาวน์ต่ำหรือฟรีดาวน์ จึงกระตุ้นความต้องการซื้อได้ง่าย ประกอบกับกฎหมายด้านการใช้รถมอเตอร์ไซค์ตามขนาดซีซีรถยังไม่เข้มงวดนัก เราจึงเห็นเด็กระดับมัธยมขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ประเภทนี้กันอย่างง่ายดาย 
6.ผู้ปกครองหรือผู้สนับสนุน พ่อ-แม่หลายๆ คนซื้อรถมอเตอร์ไซค์ให้เพราะมีความจำเป็นในการเดินทางไปเรียน ฯลฯ ซึ่งก็ควรจำกัดขนาดของรถให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และทักษะฝีมือการขับขี่ของเด็กควบคู่กันไป และก็มีอีกหลายๆ คนซื้อให้เพราะตามใจโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม  
7.ใจร้อน = ประมาท การขับขี่รถทุกชนิดโดยเฉพาะรถประเภท 2 ล้อ มักสะดวกและคล่องตัวจนเกิดความเคยชินและเข้าใจว่าสามารถที่จะขี่ไปในช่องทางต่างๆ หรืออาศัยความคล่องตัว เพื่อรีบร้อนไปในสถานการณ์ที่คับขันและอันตราย เช่น การกลับรถตัดหน้า แทรกระหว่างรถที่กำลังเลี้ยวซ้าย เป็นต้น 
8.ไม่เคารพกฎจราจร ในส่วนของการขับขี่ที่ไม่เคารพกฏจราจร หรือการกระทำผิดกฎจราจร นับเป็นสาเหตุที่มาเป็นอันดับแรก เช่น การขับขี่ย้อนศร ขับขึ้นทางเท้า การขับขี่ไปในเส้นทางหรือถนนที่ห้ามใช้ และการขับด้วยความเร็วที่เกินกำหนด ย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หมด 
9.สภาพแวดล้อม "คุณมั่นใจได้อย่างไรว่าถนนที่ขับขี่อยู่ขณะนั้นดี" เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพพื้นผิวถนนหนทางในประเทศไทย "แย่สุด" ทั้งลื่น ทั้งมีหลุมบ่อ คอสะพานอันตราย ทางโค้งที่มองไม่เห็นข้างหน้า เป็นต้น นับเป็นความเสี่ยงมากสำหรับสิงนักบิด นอกจากนี้ยังมีสภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจอีก แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสามารถขับขี่ด้วยเร็วระดับนั้นในถนนที่มีสภาพแบบนี้! 
10.เราไม่ชนเขา-แต่เขามาชนเรา สุดท้ายไม่ว่าผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์จะผ่านการอบรมระดับสูงแค่ไหน หรือจะเป็นถึงนักแข่งในสนามระดับโลกก็ต้องให้ความระมัดระวังผู้ใช้รถใช้ถนนผู้อื่นด้วย เพราะไม่สามารถกำหนดนิสัยใจคอของผู้ขับขี่คนอื่นๆ ได้ แม้เราขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพียงใด แต่หากมีผู้ขับขี่ประมาท เช่น ฝ่าไฟแดง หรือเกิดโรคประจำตัวขณะขับรถ ย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งนั้น 
 
 
 

Free Web Hosting